Translate

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด


ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด


ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด
        นักภาษาศาสตร์จัดให้ภาษาไทยอยู่ในภาษาตระกูลคำโดด คือภาษาที่อุดมไปด้วยคำพยางค์เดียว เช่น คำที่เกี่ยวกับญาติพี่น้อง ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ต่อมาเกิดการยืมคำจากภาษาต่างประเทศจึงมีคำหลายพยางค์ใช้ เช่น มารดา บิดา เสวย ดำเนิน ออกซิเจน คอมพิวเตอร์ ในที่สุดก็สร้างคำขึ้น ใช้เองจากคำพยางค์เดียว และคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ เป็นการเพิ่มคำขึ้นใช้ในภาษาเป็นคำหลายพยางค์ ได้แก่ คำซ้ำ คำซ้อน คำประสม คำสมาส เช่น เด็ก ๆ เท็จจริง ไข่ดาว วิทยาศาสตร์
      
     ลักษณะพิเศษของคำไทยซึ่งไม่มีในภาษาอื่น มีดังนี้

     ๑.ภาษาไทยมีคำลักษณนามที่ใช้บอกลักษณะของคำนาม เพื่อให้ทราบสัดส่วนรูปพรรณสัณฐาน เช่น ใช้ วง เป็นลักษณนามของ 
        แหวน นามวลีที่มี ลักษณนามอยู่ด้วย จะมีการเรียงคำแบบ นามหลัก + คำบอกจำนวน + คำลักษณนาม   เช่น แมว ๓ ตัว

     ๒.ภาษาไทยมีคำซ้ำ คำซ้อนที่เป็นการสร้างคำเพิ่มเพื่อใช้ในภาษา เช่น ใกล้ ๆ หยูกยา

     ๓.ภาษาไทยมีคำบอกท่าทีของผู้พูด เช่น ซิ ละ นะ เถอะ

     ๔.ภาษาไทยมีคำบอกสถานภาพของผู้พูดกับผู้ฟัง เช่น คะ ครับ จ๊ะ ฮะ 

การเรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม


การเรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม


การเรียงคำแบบ  ประธาน กริยา กรรม
        
           ภาษาไทยเรียงคำแบบประธาน กริยา กรรม เมื่อนำคำมาเรียงกันเป็นประโยค
ประโยคทั่ว ๆ ไปในภาษาจะมีลักษณะสามัญ จะมีการเรียงลำดับ ดังนี้  นาม กริยา นาม นามที่อยู่หน้ากริยา เป็นผู้ทำกริยา มักอยู่ต้นประโยค ทำหน้าที่เป็นประธาน ส่วนคำนามที่บอกผู้รับกริยา มักอยู่หลังคำกริยานั้นทำหน้าที่เป็นกรรม ด้วยเหตุนี้ประโยคสามัญในภาษาไทยจึงมักเรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม   ด้วยเหตุนี้ประโยคสามัญในภาษาไทยจึงมักเรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม
นักภาษาศาสตร์จึงจัดให้ภาษาไทยอยู่ในประเภทภาษาที่เรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม
      อย่างไรก็ดีมีประโยคในภาษาอยู่ไม่น้อยที่ดูเหมือนว่าจะเปลี่ยนลำดับคำได้โดยไม่เปลี่ยนความหมาย

 ตัวอย่าง
                  ๑. ก. เขาเป็นญาติกับตุ้ม              ข. ตุ้มเป็นญาติกับเขา                  ๒. ก. แม่เอาน้ำใส่กระติก              ข. แม่เอากระติกใส่น้ำ                   ๓. ก. ดินเปื้อนกระโปรง                ข. กระโปรงเปื้อนดิน                  ๔. ก. แดงและดำไปโรงเรียน         ข. ดำและแดงไปโรงเรียน
                  ๕. ก. ติ่งเหมือนต้อย                   ข. ต้อยเหมือนติ่ง
 ประโยค ก ในตัวอย่าง มีความหมายไม่ต่างกับ ประโยค ข ทั้ง ๆ ที่ลำดับคำต่างกัน

         นอกจากนี้บางประโยคอาจเปลี่ยนลำดับคำได้หลากหลายโดยที่ความหมายยังคงเป็นเช่นเดิม ตัวอย่าง
                 ๑. เขาน่าจะได้พบกับคุณเจตนาที่บ้านคุณพ่ออย่างช้าพรุ่งนี้
                 ๒. คุณเจตนาน่าจะได้พบเขาที่บ้านคุณพ่ออย่างช้าพรุ่งนี้
                 ๓. พรุ่งนี้อย่างช้าคุณเจตนาน่าจะได้พบเขาที่บ้านคุณพ่อ
                 ๔. อย่างช้าพรุ่งนี้เขาน่าจะได้พบกับคุณเจตนาที่บ้านคุณพ่อ
                 ๕. ที่บ้านคุณพ่อพรุ่งนี้อย่างช้าเขาน่าจะได้พบกับคุณเจตนา
       จะเห็นได้ว่าทุกประโยคสื่อความหมายอย่างเดียวกันไม่ว่าจะเป็นประโยค ใดก็บอกให้ทราบว่าผู้พบกัน คือ เขากับคุณเจตนา  สถานที่พบ คือ บ้านคุณพ่อ และเวลาที่พบ คือ พรุ่งนี้อย่างช้า สิ่งที่ต่างกันออกไปบ้างในประโยคทั้ง ๕ ประโยค คือ การเน้นผู้รับสาร จะรู้สึกได้ว่าคำที่อยู่ต้นหรือท้ายประโยคเป็นคำที่ผู้ส่งสารให้ความสำคัญมากกว่าคำที่อยู่กลาง ๆ ประโยค

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ภาษาวรรณยุกต์


ภาษาวรรณยุกต์
          ภาษาไทยเป็นภาษาวรรณยุกต์ ภาษาวรรณยุกต์เป็นภาษาที่มีการไล่เสียงของคำ ในภาษาไทยมีการไล่เสียงวรรณยุกต์ หรือการผันวรรณยุกต์ ได้ ๕ เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา การที่ภาษาไทยผันไล่เสียงได้นี้ ทำให้มีคำใช้มากขึ้น การไล่เสียงสูง ต่ำ ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปด้วย เช่น มา  ม้า  หมา มีความหมายแตกต่างกัน  ถ้าออกเสียง คำว่า ม้า เป็น หมา  ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย 

         นอกจากนี้ยังทำให้คำในภาษาไทยมีความไพเราะ เพราะระดับเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ของคำทำให้เกิดเป็นเสียงอย่างเสียงของดนตรี โดยที่เสียงวรรณยุกต์มีการแปรเปลี่ยนความถี่ของเสียง ได้แก่ เสียงวรรณยุกต์สามัญมีระดับเสียงกลาง ๆ และจะคงอยู่ระดับนั้นจนกระทั่งปลาย ๆ พยางค์  เสียงวรรณยุกต์เอกจะมีต้นเสียงกลาง ๆ แล้วจะลดต่ำลงมาอย่างรวดเร็วแล้วคงอยู่ในระดับนี้จนปลายพยางค์ เสียงวรรณยุกต์โทมีต้นเสียงระดับเสียงสูงแล้วลดระดับเสียงลงต่ำอย่างรวดเร็ว ที่ปลายพยางค์ หรืออาจจะเปลี่ยนสูงขึ้นจากระดับต้นพยางค์นิดหน่อย ก่อนจะลดระดับเสียงลงอย่างรวดเร็วก็ได้ เสียงวรรณยุกต์ตรีมีลักษณะเด่นที่มีระดับเสียงสูงโดยจะค่อย ๆ สูงขึ้นทีละน้อยจากต้นพยางค์จนสิ้นสุดพยางค์  และเสียงวรรณยุกต์จัตวามีต้นเสียงระดับเสียงต่ำแล้วลดลงเล็กน้อยก่อนจะ เปลี่ยนเสียงขึ้นอย่างรวดเร็วที่ปลายพยางค์


      วรรณยุกต์ของไทยมีคุณค่า ดังในบทประพันธ์ของอัจฉรา ชีวพันธ์ ที่กล่าวถึงคุณสมบัติของภาษาวรรณยุกต์ที่เป็นภาษาดนตรีมีความไพเราะ ทำให้เกิดคำใหม่มีความหมายใหม่ และการใช้เสียงวรรณยุกต์เน้น ช่วยเน้นย้ำความรู้สึกต่าง ๆ ของ การสื่อสารให้ชัดเจนมีชีวิตชีวามากขึ้น  ดังนี้

                             วรรณยุกต์ของไทยมีคุณค่า        ช่วยนำพาเสียงดนตรีดีไฉน
                     วรรณยุกต์ใช้เปลี่ยนปรับได้ฉับไว         ความหมายคำก็เปลี่ยนไปได้มากมาย
                     ตัวอย่างปาใส่ไม้เอกเสกเป็นป่า           แปลงเป็นป้าใช้ไม้โทก็เหลือหลาย
                     เสกสรรสร้างเสือ เสื่อ เสื้อได้ง่ายดาย    แสนสบายแสนเสนาะเหมาะเจาะดี
                     วรรณยุกต์สูงต่ำนำความรู้สึก               ล้วนล้ำลึกย้ำไปได้ศักดิ์ศรี
                     เช่น ต้าย-ตาย ว้าน-หวาน อีก ดี๊-ดี       ฮิ้ว-หิว ก็บ่งชี้ไปได้ชัดเจน

เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์เป็นหน่วยภาษา


เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์เป็นหน่วยภาษา
         ภาษาไทยมีเสียงสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์เป็นหน่วยภาษา หน่วยเสียงที่ใช้ในภาษาไทยแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ หน่วยเสียงสระ หน่วยเสียงพยัญชนะ และหน่วยเสียงวรรณยุกต์ หน่วยเสียง เป็นเสียงสำคัญที่ใช้ในภาษาใดภาษาหนึ่ง เป็นเสียงซึ่งทำให้คำมีความหมายต่างกันได้  
  
             นักภาษาศาสตร์จึงให้เสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์เป็นหน่วยภาษา เนื่องจากแต่ละเสียงเป็นเสียงสำคัญทำให้คำมีความหมายต่างกัน ทั้งหน่วยเสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ เป็นหน่วยเสียงที่มีความสำคัญทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปได้

         หน่วยเสียงสระในภาษาไทยมี ๒๑ หน่วยเสียง เป็นสระเดี่ยว ๑๘ เสียง  แบ่งเป็นสระสั้น ๙ เสียง สระยาว ๙ เสียง และสระประสม ๓ เสียงเท่านั้น ไม่แบ่งเป็นสระสั้น สระยาวเนื่องจากการออกเสียงสระประสมสั้น หรือยาวไม่มีนัยสำคัญ กล่าวคือ ไม่ทำให้ความหมายของคำแตกต่างกัน เหมือนกับเสียงสระเดี่ยวที่แบ่งเป็นสระสั้น สระยาว การออกเสียงสระประสมสั้น หรือยาวก็ไม่ทำให้ความหมายเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตามในการเขียนได้กำหนดเป็นมาตรฐานว่าต้องเขียนคำบางคำด้วยสระสั้น คำบางคำต้องเขียนด้วยสระยาว เช่น เจี๊ยะ เพี๊ยะ ผัวะ เขียนรูปสระสั้น แต่ต้องเขียนคำ เช่น เสือ เกือก เมีย เสีย เลีย ด้วยสระยาวเท่านั้น

        หน่วยเสียงพยัญชนะไทย มี ๒๑ เสียง แต่มีรูปถึง ๔๔ รูป เสียงพยัญชนะที่ปรากฏมีทั้งพยัญชนะเดี่ยว และพยัญชนะควบกล้ำ (ซึ่งเสียงที่สองจะเป็น ร ล ว เท่านั้น) แต่ส่วนใหญ่จะใช้พยัญชนะเดี่ยวขึ้นต้นคำมากกว่า ส่วนพยัญชนะตัวสะกดไม่มีพยัญชนะควบกล้ำเลย 
        หน่วยเสียงวรรณยุกต์ มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา แต่มีเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์เพียง ๔ รูปเท่านั้น  คือ   ไม้เอก  ไม้โท ไม้ตรี และไม้จัตวา เครื่องหมายวรรณยุกต์ไม่ได้ใช้แทนเสียงวรรณยุกต์นั้น ๆ ตรงตัวเสมอไป เพราะ ต้องเปลี่ยนแปรไปตามกลุ่มของพยัญชนะว่าเป็น อักษรกลาง อักษรสูง หรืออักษรต่ำรวมทั้งคำเป็น คำตาย สระสั้น-สระยาว และกฎการผันวรรณยุกต์

การวางคำขยายไว้ข้างหลัง


การวางคำขยายไว้ข้างหลังคำหลัก
      คำขยายในภาษาไทยจะวางไว้ข้างหลังคำหลักหรือคำที่ถูกขยายเสมอ  การวางคำขยายจะเกิดในกรณีที่ผู้พูดหรือผู้เขียนมีความต้องการจะบอกกล่าวข้อความเพิ่มเติมในประโยค ก็หาคำมาขยายโดยการวางคำขยายไว้ข้างหลัง คำที่ต้องการขยายความหมายมักจะเป็นคำนาม คำกริยา ดังนั้น คำขยายจึงอยู่หลังคำที่ถูกขยายหรือคำหลัก จะเรียงลำดับ ดังนี้ 

 ๑. คำนาม (คำหลัก) + คำขยาย เช่น บ้านเพื่อน แขนขวา (บ้าน แขน เป็นคำหลัก ส่วนเพื่อน ขวา เป็นคำขยาย)
  ๒. คำกริยา (คำหลัก) + คำขยาย เช่น กินจุ เดินเร็ว (กิน เดิน เป็นคำหลัก ส่วนจุ เร็ว เป็นคำขยาย)
      คำขยาย หรือคำที่ทำหน้าที่ขยาย แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ๑) คำที่ทำหน้าที่ขยายนาม เป็นคำชนิดต่าง ๆ เช่น คำนาม  
     
       คำสรรพนาม คำลักษณนาม คำบอกจำนวน เป็นต้น และเมื่อขยายแล้วจะเกิดเป็นกลุ่มคำนามหรือนามวลี เช่น ละครเพลง ร่มใน  

      ตะกร้า เรือ ๕ ลำ ๒) คำที่ทำหน้าที่ขยายกริยา เป็นคำชนิดต่าง ๆ เช่น คำกริยา คำช่วยหน้ากริยา คำบอกจำนวน คำลักษณนาม  เป็นต้น และเมื่อขยายแล้วจะเป็นกลุ่มคำกริยา หรือกริยาวลี เช่น หอมฟุ้ง หมุนติ้ว ประมาณ ๕ กิโลกรัม

      ถ้าคำหลัก หรือคำที่ถูกขยายเป็นคำนามที่ทำหน้าที่ประธาน หรือกรรม และเป็นคำกริยาที่ทำหน้าที่กริยาของประโยคที่ต้องการ   

      เนื้อความเพิ่มขึ้นก็จะหาคำมาขยายโดยวางเรียงต่อจากคำหลัก 

   จึงมีรูปแบบการเรียงคำ ดังนี้ คำหลัก (คำนาม,คำกริยา) + คำขยาย 

การลงเสียงหนักเสียงเบาของคำ

การลงเสียงหนัก-เบาของคำ

 
ภาษาไทยมีการลงเสียงหนัก-เบาของคำ

        การลงเสียงหนัก เบาของคำในภาษาไทย จะมีการลงเสียงหนัก-เบาของคำในระดับคำซึ่งมีมากกว่าสองพยางค์ และการลงเสียงหนัก-เบาของคำในระดับประโยค โดยพิจารณาในแง่ของไวยากรณ์ และเจตนาของการสื่อสาร เมื่อพิจารณาในแง่ของไวยากรณ์การออกเสียงคำภาษาไทยมิได้ออกเสียงเสมอกันทุก พยางค์ กล่าวคือ ถ้าคำพยางค์เดียวอยู่ในประโยค คำบางคำก็อาจไม่ออกเสียงหนัก และถ้าถ้อยคำมีหลายพยางค์ แต่ละพยางค์ก็อาจออกเสียงหนักเบาไม่เท่ากัน นอกจากนี้หน้าที่และความหมายของคำในประโยคก็ทำให้ออกเสียงคำหนักเบาไม่เท่า กัน


การลงเสียงหนัก เบาของคำ   การลงเสียงหนัก-เบาของคำสองพยางค์ขึ้น  มีดังนี้
    ๑.ถ้าเป็นคำสองพยางค์ จะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่สอง เช่น คนเราต้องมีมานะ  (นะ เสียงหนักกว่า มา)
    ๒.ถ้าเป็นคำสามพยางค์ ลงเสียงหนักที่พยางค์ที่สาม และพยางค์ที่หนึ่ง หรือ พยางค์ที่สองด้วยถ้าพยางค์ที่หนึ่งและพยางค์ที่สองมี 
        สระยาวหรือมีเสียงพยัญชนะท้าย เช่น ปัจจุบันเขาเลิกกิจการไปแล้ว (ลงเสียงหนักที่ ปัจ,บัน,กิจ,การ) 
    ๓. ถ้าเป็นคำสี่พยางค์ขึ้นไป ลงเสียงหนักที่พยางค์สุดท้าย ส่วนพยางค์อื่น ๆ ก็ลงเสียงหนัก-เบาตามลักษณะส่วนประกอบของ    
        พยางค์ที่มีสระยาวหรือมีเสียงพยัญชนะท้าย เช่น ทรัพยากร (ลงเสียงหนักที่ ทรัพ, ยา, กร)

การลงเสียงหนัก เบาของคำ
   การลงเสียงหนัก-เบาตามหน้าที่และความหมายของคำในประโยค


   ๑.คำที่ทำหน้าที่เป็น ประธาน กริยา กรรม หรือคำขยาย จะออกเสียงหนัก
           เช่น น้องพูดเก่งมาก  (ออกเสียงเน้นหนักทุกพยางค์)

   ๒.ถ้าเป็นคำเชื่อมจะไม่เน้นเสียงหนัก
           เช่น  น้องพูดเก่งกว่าพี่  (ออกเสียงเน้นหนักทุกพยางค์ แต่ไม่ออกเสียงเน้นคำ กว่า)

   ๓.คำที่ประกอบด้วยสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์อย่างเดียวกัน ออกเสียงหนัก-เบา ต่างกันแล้วแต่ความหมายและหน้าที่ของคำนั้น
          เช่น  คุณแม่กะจะไปเชียงใหม่กะคุณพ่อ  (กะ คำแรก ออกเสียงหนัก เพราะถือเป็นคำสำคัญในประโยค  ส่วน กะ คำที่สอง  
     

ออกเสียงเบากว่า กะ คำแรก เพราะเป็นคำเชื่อม 
   เมื่อพิจารณาในแง่ของเจตนาของการสื่อสาร การออกเสียงคำภาษาไทยมิได้ออกเสียงเสมอกันทุกคำ กล่าวคือ จะขึ้นอยู่กับผู้พูดว่าจะต้องการเน้นคำใด หรือต้องการแสดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างใดจึงเน้นคำ ๆ นั้นหนักกว่าคำอื่น
การออกเสียงหนัก - เบาของคำในระดับประโยค 
     ๑.ผู้พูดอาจเลือกเน้นคำบางคำในประโยคได้ต่าง ๆ กันเพื่อให้ผู้ฟังสนใจเป็นพิเศษ หรือเพื่อส่งสารบางอย่างเป็นพิเศษ           เช่น  น้อยชอบนันท์ไม่ใช่ชอบนุช  (ออกเสียงเน้นหนักที่ นันท์)
     ๒.ผู้พูดอาจเลือกเน้นคำใดคำหนึ่งตามความรู้สึก อารมณ์ หรือความเชื่อที่เกิดขึ้นในขณะส่งสาร
           เช่น  แน่ละ  เขาดีกว่าฉันนี่ (ออกเสียงเน้นหนักที่ ดี แสดงว่าผู้พูดมิได้คิดว่า เขาดี เพียงแต่ต้องการประชด)

การไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ

การไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ


การไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ 

        คำในภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเมื่อนำไปใช้ในประโยค เพื่อแสดงความสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยค และไม่ต้องเปลี่ยนรูปคำ เพื่อแสดงเพศ พจน์ หรือกาล ในเมื่อคำไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อบอกเพศ พจน์ หรือกาล  และบอกความสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยค  เราสามารถทราบความหมายของคำและความสัมพันธ์กับคำอื่นได้จากบริบท

บริบท หมายถึง ถ้อยคำที่ปรากฏร่วมกับคำที่เรากำลังพิจารณา หรือสถานการณ์แวดล้อมในขณะที่กล่าว หรือเขียนคำ ๆ นั้น


     วิธีการพิจารณาความหมายของคำจากบริบท
   ๑.พิจารณาจากคำที่ปรากฏร่วมกัน  เช่น น้องสาวถามพี่ว่าเพื่อนพี่คนสูง ๆ สวมแว่นตาคลอดหรือยัง (พี่ย่อมเข้าใจได้ว่าเพื่อนพี่ที่น้องถามถึงเป็นเพื่อนผู้หญิง เพราะคำกริยา คลอดใช้แก่ประธานที่เป็นเพศหญิงเท่านั้น)

   ๒.พิจารณาจากหน้าที่ของคำ เช่น  เด็กดีเรียนดี  (ดี คำแรกขยายคำนาม เด็ก ดี คำที่สอง ขยายกริยา เรียน เพราะคำขยายจะอยู่ข้างหลังคำหลัก หรือคำที่ถูกขยาย)
   ๓.พิจารณาความหมายของคำจากคำที่ปรากฏร่วมกัน เช่น ขัด มีความหมายว่า ติด  ขวางไว้ไม่ให้หลุดออก  เหน็บ  ไม่ทำตาม  ฝ่าฝืน  ขืนไว้  ถูให้เกลี้ยง  ถูให้องใส  ไม่ใคร่จะมี  ฝืดเคือง  ไม่คล่อง  ไม่ปกติ เมื่อ ขัด ปรากฏในประโยค เราก็จะทราบความหมายได้ว่า ขัด ในประโยค นั้น ๆ หมายความว่าอย่างไรโดยพิจารณาความหมายของคำจากคำที่ปรากฏร่วมกัน    ดังนี้  เขาชอบขัดคำสั่งเจ้านาย  (ขัด หมายถึง ฝ่าฝืน)
           เธอช่วยเอารองเท้าคู่ดำไปขัดให้หน่อย  (ขัด หมายถึง ถูให้เกลี้ยง ถูให้ผ่องใส)
           วันนี้ไม่รู้เป็นอย่างไรจะทำอะไรก็ขัดไปหมด  (ขัด หมายถึง ไม่คล่อง)
   ที่เราทราบความหมายของคำว่า ขัด ได้ก็เพราะคำอื่น ๆ ที่ปรากฏร่วมกับคำว่า ขัด ในประโยค หรืออีกนัยหนึ่ง บริบทของคำว่า ขัด นั่นเอง
   ๔.พิจารณาจากเจตนาของผู้พูด เช่น

         สามีกล่าวให้ภรรยาฟังว่าเลขานุการของเขามีความสามารถในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง  ภรรยาก็กล่าวว่า  แหม เก่งจริงนะ 

      สามีต้องอาศัยบริบท คือ สังเกตสีหน้าท่าทางของภรรยาว่า คำว่า เก่ง ของภรรยาหมายความว่าอย่างไร ภรรยาชมเลขานุการด้วยความจริงใจ หรือพูดประชดประชัน

                                             เด็กคนหนึ่งพูดว่า คุณแม่ ผู้ฟังรู้ว่า คุณแม่ หมายความว่าอย่างไร แต่จะไม่เข้าใจเลยว่า ผู้พูดพูดคำนั้นเพื่ออะไรนอกจากจะพิจารณาจากบริบท ผู้พูดอาจพูดว่า คุณแม่ เพื่อเตือนให้น้อง ๆ รู้ว่ามารดากำลังเดินมา หรือเพื่อเรียกมารดาของตน หรือเพื่อตอบคำถามของครูว่า ใครมาส่งที่โรงเรียน หรืออื่น ๆ ได้อีกมาก

                                             หัวหน้าสั่งลูกน้องว่า ช่วยหยิบแฟ้มมาให้ผมหน่อยครับ  เมื่อลูกน้องถือแฟ้มเข้ามา หัวหน้าเห็นเข้า ก็ร้องบอกว่า เอาอีกแฟ้มหนึ่งครับ เมื่อลูกน้องกลับออกไปถือแฟ้มเข้ามา ๒ แฟ้ม  หัวหน้าเห็นแต่ไกล ดุว่า ผมให้เอาอีกแฟ้มหนึ่ง
 จะเห็นว่า คำสั่งของหัวหน้ามีความกำกวม อาจหมายความอย่างที่หัวหน้าต้องการ หรืออย่างที่ลูกน้องเข้าใจก็ได้ แต่ถ้าหัวหน้ากล่าวให้มีบริบทว่า เอาอีกแฟ้มหนึ่ง ไม่ใช่แฟ้มนี้ คำพูดก็จะไม่กำกวม

การแต่งกาพย์ยาณี๑๑

กาพย์ยานี๑๑

1 สิงหาคม 2011 at 2:32 pm
filed under 
กาพย์ยานี๑๑
แผนผังกาพย์ยานี๑๑
๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
     วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับวรรคที่สองเรียกวรรครับ
     วรรคที่สามเรียกวรรครองวรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แบ่งเป็นวรรคแรก ๕ คำ วรรคหลัง ๖ คำ รวม ๑๑ คำ จึงเรียก ยานี ๑๑
๒. สัมผัส
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคแรกวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ)   สัมผัสกับคำที่สามของวรรคหลัง วรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง)
(ดูแผนผังและยกตัวอย่าง)
ถ้าจะแต่งบทต่อไปต้องมีสัมผัสระหว่างบท
สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์ยานี คือ
คำสุดท้ายของวรรคสี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัสที่คำ
สุดท้ายของวรรคสอง (วรรครับ) ดังตัวอย่าง
ตัวอย่างกาพย์ยานี๑๑
          พฤษภกาสร            อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง               สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย                มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี               ประดับไว้ในโลกา 
========
สิบเอ็ดบอกความนัย หนึ่งบาทไซร้ของพยางค์
วรรคหน้าอย่าเลือนราง จำนวนห้าพาจดจำ
หกพยางค์ในวรรคหลัง ตามแบบตั้งเจ้าลองทำ
สัมผัสตามชี้นำ โยงเส้นหมายให้เจ้าดู
สุดท้ายของวรรคหนึ่ง สัมผัสตรึงสามนะหนู
หกห้าโยงเป็นคู่เร่งเรียนรู้สร้างผลงานอ.ภาทิพ ศรีสุทธิ์




การแต่งกลอนสี่

กลอนสี่   เป็นคำประพันธ์ประเภทกลอน ใน 1 บท มี 2 บาท 1 บาท มี 2 วรรค วรรคละ 4 คำ กลอน 4
ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน 4 ที่เก่าที่สุดพบในมหาชาติคำหลวงกัณฑ์มหาพน (สมัยอยุธยา) แต่ต่อมาไม่ปรากฏในวรรณคดีไทยมากนัก มักแทรกอยู่ตามกลอนบทละครต่าง ๆ
ตัวอย่างกลอน 4 ในวรรณคดีไทยที่พบมี 2 แบบ  คือ

กลอน 4 แบบที่ 1

กลอน 4 แบบนี้ บทหนึ่งจะประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ตามผัง
O O O OO O O O
O O O OO O O O
สัมผัส แบบกลอนทั่วไป คือ คำสุดท้ายวรรคหน้าสัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง และคำสุดท้ายวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบทก็เช่นเดียวกัน คือ คำสุดท้ายวรรคที่สี่ของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สองของบทถัดไป (ดูตัวอย่าง)
ตัวอย่าง กลอน 4 แบบที่ 1
เหวยเหวยอีจันทราขึ้นหน้าเถียงผัว
อุบาทว์ชาติชั่วไสหัวมึงไป
นางจันทาเถียงเล่าพระองค์เจ้าหลงไหล
ไล่ตีเมียไยพระไม่ปรานี
เมียผิดสิ่งใดพระไล่โบยตี
หรือเป็นกาลีเหมือนที่ขับไป
— บทละครครั้งกรุงเก่า เรื่อง สังข์ทอง

กลอน 4 แบบที่ 2

คณะ กลอน 4 แบบนี้ บทหนึ่งประกอบด้วย 4 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ตามผัง
O O O OO O O O
O O O OO O O O
O O O OO O O O
O O O OO O O O
สัมผัสนอก ในทุกบาท คำสุดท้ายของวรรหน้า สัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง มีสัมผัสระหว่างบาทที่สองกับสาม คือ คำสุดท้ายวรรที่สี่สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่หก ส่วนสัมผัสระหว่างบทนั้นจะแตกต่างจากแบบแรก เนื่องจากให้คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สี่ของบทถัดไป (ดูตัวอย่าง)
ตัวอย่าง กลอน 4 แบบที่ 2
จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง
ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง
งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง
ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง
ดั่งดาวดั่งเดือนดั่งจะเลื่อนดั่งจะลอย
พิศเช่นพิศช้อยพิศสร้อยพิศสุง
ช่างปลอดช่างเปรื่องช่างเรืองช่างรุ่ง
ทรงแดดทรงดุ่งทรงวุ้งทรงแวง
— กลบทจาตุรงคนายก, ศิริวิบุลกิตติ, หลวงปีชา (เซ่ง)
สัมผัสใน ไม่บังคับ แต่กวีมักจัดให้มีสัมผัสระระหว่างคำที่สองและคำที่สามของทุกวรรค
ตย.กลอนสี่อื่นๆ
สงสัยมานาน……………ขันขานก็บ่อย
อีกทั้งเรียงร้อย………….ถ้อยคำภาษา
สอบถามเรื่อยไป………..มีใครบ้างนา
รู้บ้างไหมหนา………….ว่ากลอนอะไร ฯ
นี่คือตัวอย่าง……………..ท่านวางเอาไว้
กลอนสี่นี่ไง……………….เชื่อได้เลยเธอ
พี่นุพบเห็น………………..ประเด็นเสนอ
บอกเล่าไว้เออ……………..เผื่อเธอสนใจ ฯ
มีคำสัมผัส…………………รึงรัดที่ไหน
ค่อยสังเกตไป………………มองให้ดีดี
ในวรรคที่สอง……………..ค่อยมองดูซี
อีกทั้งวรรคสี่……………….คำมีรับกัน ฯ
วรรคสามก็ด้วย……………ต่างช่วยแต่งฉันท์
วรรคสี่ก็พลัน………………จัดสรรส่งไป
สัมผัสหลายที่……………..ดูสิตรงไหน
ยากง่ายยังไง………………ขอให้แต่งดู ฯ
ที่แต่งผ่านมา………………ถือว่าพลาดอยู่
เพราะความไม่รู้…………..อดสูอยู่นา
ค่อยเป็นค่อยไป……………ค่อยใช้ปัญญา
ค่อยแก้ปัญหา……………..ค่อยมาคุยกัน…ฯ
= = = = = =
๐ วันว่างห่างงาน รำคาญยิ่งนัก
อยู่บ้านผ่อนพัก สักนิดผ่อนคลาย
๐ หยิบหนังสืออ่าน ผ่านตาดีหลาย
กลอนสี่ท้าทาย หมายลองเขียนดู
๐ หากท่านใดว่าง ร่วมทางฝึกรู้
กลอนได้เชิดชู อยู่อย่างมั่นคง
๐ เสียงไม่บังคับ จับสัมผัสส่ง
สี่คำเจาะจง ลงมือกันเลย

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ภาษาไทย

ภาษาไทย เป็นภาษาทางการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วยคำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แม้คำนี้จะมีรูปเหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่แท้ที่จริงแล้ว คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำที่เรียกว่า 'การลากคำเข้าวัด' ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว  เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง

ภาษาไทยสมัยจอมพล ป.[แก้]

ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปฏิรูปภาษาไทยโดยสภาวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2485 มีการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำมากมาย การเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ ที่สังเกตได้มีดังนี้
  • ตัดพยัญชนะ ฃ ฅ ฆ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ศ ษ ฬ แล้วใช้ ข ค ค ด ต ถ ท ธ น ส ส ล แทนตามลำดับ
  • พยัญชนะ ญ ถูกตัดเชิงออกกลายเป็น ญ
  • พยัญชนะสะกดของคำที่ไม่ได้มีรากมาจากคำบาลี-สันสกฤต เปลี่ยนเป็นพยัญชนะสะกดตามแม่โดยตรง เช่น อาจ เปลี่ยนเป็น อาด, สมควร เปลี่ยนเป็น สมควน
  • เปลี่ยน อย เป็น หย เช่น อยาก ก็เปลี่ยนเป็น หยาก
  • เลิกใช้คำควบไม่แท้ เช่น จริง ก็เขียนเป็น จิง, ทรง ก็เขียนเป็น ซง
  • ร หัน ที่มิได้ออกเสียง /อัน/ ส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นสระอะตามด้วยตัวสะกด เช่น อุปสรรค เปลี่ยนเป็น อุปสัค, ธรรม เปลี่ยนเป็น ธัม
  • เลิกใช้สระใอไม้ม้วน เปลี่ยนเป็นสระไอไม้มลายทั้งหมด
  • เลิกใช้ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เปลี่ยนไปใช้การสะกดตามเสียง เช่น พฤกษ์ ก็เปลี่ยนเป็น พรึกส์, ทฤษฎี ก็เปลี่ยนเป็น ทริสดี
  • ใช้เครื่องหมายวรรคตอนอย่างภาษาต่างประเทศ เช่นมหัพภาคเมื่อจบประโยค จุลภาคเมื่อจบประโยคย่อยหรือวลี อัฒภาคเชื่อมประโยค และจะไม่เว้นวรรคถ้ายังไม่จบประโยคโดยไม่จำเป็น
หลังจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลุดจากอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ รัฐนิยมก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย อักขรวิธีภาษาไทยได้กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง [1]

หน่วยเสียง[แก้]

ภาษาไทยประกอบด้วยหน่วยเสียงสำคัญ 3 ประเภท[2] คือ
  1. หน่วยเสียงพยัญชนะ
  2. หน่วยเสียงสระ
  3. หน่วยเสียงวรรณยุกต์

พยัญชนะ[แก้]

พยัญชนะต้น[แก้]

ภาษาไทยแบ่งแยกรูปแบบเสียงพยัญชนะก้องและพ่นลม ในส่วนของเสียงกักและเสียงผสมเสียดแทรก เป็นสามประเภทดังนี้
  • เสียงไม่ก้อง ไม่พ่นลม
  • เสียงไม่ก้อง พ่นลม
  • เสียงก้อง ไม่พ่นลม
หากเทียบกับภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปมีเสียงแบบที่สองกับสามเท่านั้น เสียงแบบที่หนึ่งพบได้เฉพาะเมื่ออยู่หลัง s ซึ่งเป็นเสียงแปรของเสียงที่สอง
เสียงพยัญชนะต้นโดยรวมแบ่งเป็น 21 เสียง ตารางด้านล่างนี้บรรทัดบนคือสัทอักษรสากล บรรทัดล่างคืออักษรไทยในตำแหน่งพยัญชนะต้น (อักษรหลายตัวที่ปรากฏในช่องให้เสียงเดียวกัน) อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
 ริมฝีปาก
ทั้งสอง
ริมฝีปากล่าง
-ฟันบน
ปุ่มเหงือกหลังปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิก [m]
ม m
  [n]
ณ,น n
   [ŋ]
ง ng
 
เสียงกัก[p]
ป p
[pʰ]
ผ,พ,ภ ph
[b]
บ b
 [t]
ฏ,ต t
[tʰ]
ฐ,ฑ,ฒ,ถ,ท,ธ th
[d]
ฎ,ด d
  [k]
ก k
[kʰ]
ข,ฃ,ค,ฅ,ฆ* kh
 [ʔ]
อ** -
เสียงเสียดแทรก [f]
ฝ,ฟ f
[s]
ซ,ศ,ษ,ส s
    [h]
ห,ฮ h
เสียงผสมเสียดแทรก   [t͡ɕ]
จ c(h)
[t͡ɕʰ]
ฉ,ช,ฌ ch
   
เสียงรัว   [r]
ร r
    
เสียงเปิด [w]
ว w
   [j]
ญ,ย y
  
เสียงเปิดข้างลิ้น   [l]
ล,ฬ l
    
* ฃ และ ฅ เลิกใช้แล้ว ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าภาษาไทยสมัยใหม่มีพยัญชนะเพียง 42 ตัวอักษร
** อ ที่เป็นพยัญชนะต้นหมายถึงเสียงเงียบ และดังนั้นมันจึงถูกพิจารณาว่าเป็นเสียงกัก เส้นเสียง

พยัญชนะสะกด[แก้]

ถึงแม้ว่าพยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียงในกรณีของพยัญชนะต้น แต่ในกรณีพยัญชนะสะกดแตกต่างออกไป สำหรับเสียงสะกดมีเพียง 8 เสียง และรวมทั้งไม่มีเสียงด้วย เรียกว่า มาตรา เสียงพยัญชนะก้องเมื่ออยู่ในตำแหน่งตัวสะกด ความก้องจะหายไป
ในบรรดาพยัญชนะไทย นอกจาก ฃ และ ฅ ที่เลิกใช้แล้ว ยังมีพยัญชนะอีก 6 ตัวที่ใช้เป็นตัวสะกดไม่ได้คือ ฉ ผ ฝ ห อ ฮ ดังนั้นมันจึงเหลือเพียง 36 ตัวตามตาราง อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
 ริมฝีปาก
ทั้งสอง
ริมฝีปากล่าง
-ฟันบน
ปุ่มเหงือกหลังปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิก [m]
ม m
  [n]
ญ,ณ,น,ร,ล,ฬ n
   [ŋ]
ง ng
 
เสียงกัก[p̚]
บ,ป,พ,ฟ,ภ p
  [t̚]
จ,ช,ซ,ฌ,ฎ,ฏ,ฐ,ฑ,ฒ,
ด,ต,ถ,ท,ธ,ศ,ษ,ส t
   [k̚]
ก,ข,ค,ฆ k
 [ʔ]
* -
เสียงเปิด [w]
ว o(w)
   [j]
ย i(y)
  
* เสียงกัก เส้นเสียง จะปรากฏเฉพาะหลังสระเสียงสั้นเมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด

กลุ่มพยัญชนะ[แก้]

แต่ละพยางค์ในคำหนึ่ง ๆ ของภาษาไทยแยกออกจากกันอย่างชัดเจน (ไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่พยัญชนะสะกดอาจกลายเป็นพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไป หรือในทางกลับกัน) ดังนั้นพยัญชนะหลายตัวของพยางค์ที่อยู่ติดกันจะไม่รวมกันเป็นกลุ่มพยัญชนะเลย
ภาษาไทยมีกลุ่มพยัญชนะเพียงไม่กี่กลุ่ม ประมวลคำศัพท์ภาษาไทยดั้งเดิมระบุว่ามีกลุ่มพยัญชนะ (ที่ออกเสียงรวมกันโดยไม่มีสระอะ) เพียง 11 แบบเท่านั้น เรียกว่า พยัญชนะควบกล้ำ หรือ อักษรควบกล้ำ
  • /kr/ (กร), /kl/ (กล), /kw/ (กว)
  • /kʰr/ (ขร,คร), /kʰl/ (ขล,คล), /kʰw/ (ขว,คว)
  • /pr/ (ปร), /pl/ (ปล)
  • /pʰr/ (พร), /pʰl/ (ผล,พล)
  • /tr/ (ตร)
พยัญชนะควบกล้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยจากคำยืมภาษาต่างประเทศ อาทิ อินทรา จากภาษาสันสกฤต พบว่าใช้ /tʰr/ (ทร), ฟรี จากภาษาอังกฤษ พบว่าใช้ /fr/ (ฟร) เป็นต้น เราสามารถสังเกตได้ว่า กลุ่มพยัญชนะเหล่านี้ถูกใช้เป็นพยัญชนะต้นเท่านั้น ซึ่งมีเสียงพยัญชนะตัวที่สองเป็น ร ล หรือ ว และกลุ่มพยัญชนะจะมีเสียงไม่เกินสองเสียงในคราวเดียว การผันวรรณยุกต์ของคำขึ้นอยู่กับไตรยางศ์ของพยัญชนะตัวแรก

สระ[แก้]

เสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน (ดูที่ อักษรไทย)
สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
 ลิ้นส่วนหน้าลิ้นส่วนหลัง
ปากเหยียดปากเหยียดปากห่อ
สั้นยาวสั้นยาวสั้นยาว
ลิ้นยกสูง/i/
–ิ i
/iː/
–ี i
/ɯ/
–ึ ue
/ɯː/
–ื ue
/u/
–ุ u
/uː/
–ู u
ลิ้นกึ่งสูง/e/
เ–ะ e
/eː/
เ– e
/ɤ/
เ–อะ oe
/ɤː/
เ–อ oe
/o/
โ–ะ o
/oː/
โ– o
ลิ้นกึ่งต่ำ/ɛ/
แ–ะ ae
/ɛː/
แ– ae
  /ɔ/
เ–าะ o
/ɔː/
–อ o
ลิ้นลดต่ำ  /a/
–ะ a
/aː/
–า a
  
สระเดี่ยว
สระเดี่ยว
สระประสม
สระประสม
สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้
  • เ–ีย /iːa/ ประสมจากสระ อี และ อา ia
  • เ–ือ /ɯːa/ ประสมจากสระ อือ และ อา uea
  • –ัว /uːa/ ประสมจากสระ อู และ อา ua
ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น
สระเสียงสั้นสระเสียงยาวสระเกิน
ไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกดไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกดไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกด
–ะ–ั–¹–า–า––ำ(ไม่มี)
–ิ–ิ––ี–ี–ใ–(ไม่มี)
–ึ–ึ––ือ–ื–ไ–ไ––⁵
–ุ–ุ––ู–ู–เ–า(ไม่มี)
เ–ะเ–็–เ–เ––ฤ, –ฤฤ–, –ฤ–
แ–ะแ–็–แ–แ––ฤๅ(ไม่มี)
โ–ะ––โ–โ––ฦ, –ฦฦ–, –ฦ–
เ–าะ–็อ––อ–อ–²ฦๅ(ไม่มี)
–ัวะ(ไม่มี)–ัว–ว–
เ–ียะ(ไม่มี)เ–ียเ–ีย–
เ–ือะ(ไม่มี)เ–ือเ–ือ–
เ–อะ(ไม่มี)เ–อเ–ิ–³, เ–อ–⁴
สระเกิน คือสระที่มีเสียงของพยัญชนะปนอยู่ มี 8 เสียงดังนี้
  • –ำ /am, aːm/ am ประสมจาก อะ + ม (อัม)เช่น ขำ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาม)เช่น น้ำ
  • ใ– /aj, aːj/ ai ประสมจาก อะ + ย (อัย)เช่น ใจ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย)เช่น ใต้
  • ไ– /aj, aːj/ ai ประสมจาก อะ + ย (อัย)เช่น ไหม้ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย)เช่น ไม้
  • เ–า /aw, aːw/ ao ประสมจาก อะ + ว (เอา)เช่น เกา บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาว)เช่น เก้า
  • ฤ /rɯ/ rue,ri,roe ประสมจาก ร + อึ (รึ)เช่น ฤกษ์ บางครั้งเปลี่ยนเป็น /ri/ (ริ)เช่น กฤษณะ หรือ /rɤː/ (เรอ)เช่นฤกษ์
  • ฤๅ /rɯː/ rue ประสมจาก ร + อือ (รือ)
  • ฦ /lɯ/ lue ประสมจาก ล + อึ (ลึ)
  • ฦๅ /lɯː/ lue ประสมจาก ล + อือ (ลือ)
บางตำราก็ว่าสระเกินเป็นพยางค์ ไม่ถูกจัดว่าเป็นสระ
สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ สามารถสรุปได้ตามตารางด้านขวา
¹ คำที่สะกดด้วย –ะ + ว นั้นไม่มี เพราะซ้ำกับ –ัว แต่เปลี่ยนไปใช้ เ–า แทน
² คำที่สะกดด้วย –อ + ร จะลดรูปเป็น –ร ไม่มีตัวออ เช่น พร ศร จร ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ โ–ะ ดังนั้นคำที่สะกดด้วย โ–ะ + ร จึงไม่มี
³ คำที่สะกดด้วย เ–อ + ย จะลดรูปเป็น เ–ย ไม่มีพินทุ์อิ เช่น เคย เนย เลย ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ เ– ดังนั้นคำที่สะกดด้วย เ– + ย จึงไม่มี
⁴ พบได้น้อยคำเท่านั้นเช่น เทอญ เทอม
⁵ มีพยัญชนะสะกดเป็น ย เท่านั้น เช่น ไทย ไชย

วรรณยุกต์[แก้]

เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย (เสียงดนตรีหรือเสียงผัน) จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่
เสียงวรรณยุกต์ตัวอย่างหน่วยเสียงสัทอักษร
เสียงสามัญ (ระดับเสียงกลาง)นา/nāː/[naː˧]
เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ หรือ ต่ำอย่างเดียว)หน่า/nàː/[naː˨˩] หรือ [naː˩]
เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)น่า/หน้า/nâː/[naː˥˩]
เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง หรือ สูงอย่างเดียว)น้า/náː/[naː˦˥] หรือ [naː˥]
เสียงจัตวา (ระดับเสียงต่ำ-กึ่งสูง)หนา/nǎː/[naː˩˩˦] หรือ [naː˩˦]
ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น

ไวยากรณ์[แก้]

ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด คำในภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไม่ว่าจะอยู่ในกาล (tense) การก (case) มาลา (mood) หรือวาจก (voice) ใดก็ตาม คำในภาษาไทยไม่มีลิงก์ (gender) ไม่มีพจน์ (number) ไม่มีวิภัตติปัจจัย แม้คำที่รับมาจากภาษาผันคำ (ภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย) เป็นต้นว่าภาษาบาลีสันสกฤต เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป คำในภาษาไทยหลายคำไม่สามารถกำหนดหน้าที่ของคำตายตัวลงไปได้ ต้องอาศัยบริบทเข้าช่วยในการพิจารณา เมื่อต้องการจะผูกประโยค ก็นำเอาคำแต่ละคำมาเรียงติดต่อกันเข้า ภาษาไทยมีโครงสร้างแตกกิ่งไปทางขวา คำคุณศัพท์จะวางไว้หลังคำนาม ลักษณะทางวากยสัมพันธ์โดยรวมแล้วจะเป็นแบบ 'ประธาน-กริยา-กรรม'

การยืมคำจากภาษาอื่น[แก้]

ภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่งที่มีการยืมคำมาจากภาษาอื่นๆค่อนข้างสูงมาก มีทั้งแบบยืมมาจากภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได ด้วยกันเอง และข้ามตระกูลภาษา โดยส่วนมากจะยืมมาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ซึ่งมีทั้งรักษาคำเดิม ออกเสียงใหม่ สะกดใหม่ หรือเปลี่ยนความหมายใหม่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
บางครั้งเป็นการยืมมาซ้อนคำ เกิดเป็นคำซ้อน คือ คำย่อยในคำหลัก มีความหมายเดียวกันทั้งสอง เช่น
  • ดั้งจมูก โดยมีคำว่าดั้ง เป็นคำในภาษาไต ส่วนจมูก เป็นคำในภาษาเขมร
  • อิทธิฤทธิ์ มาจาก อิทธิ (iddhi) ในภาษาบาลี ซ้อนกับคำว่า ฤทธิ (ṛddhi) ในภาษาสันสกฤต โดยทั้งสองคำมีความหมายเดียวกัน
= คำจำนวนมากในภาษาไทย ไม่ใช้คำในกลุ่มภาษาไต แต่เป็นคำที่ยืมมาจากกลุ่มภาษาสันสกฤต-ปรากฤต โดยมีตัวอย่างดังนี้
รักษารูปเดิม หรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
  • วชิระ (บาลี:วชิระ [vajira]), วัชระ (สันส:วัชร [vajra])
  • ศัพท์ (สันส:ศัพทะ [śabda]), สัท (เช่น สัทอักษร) (บาลี:สัททะ [sadda])
  • อัคนี และ อัคคี (สันส:อัคนิ [agni] บาลี:อัคคิ [aggi])
  • โลก (โลก) - (บาลี-สันส:โลกะ [loka])
  • ญาติ (ยาด) - (บาลี:ญาติ (ยา-ติ) [ñāti])
เสียง พ มักแผลงมาจาก ว
  • เพียร (มาจาก พิริยะ และมาจาก วิริยะ อีกทีหนึ่ง) (สันส:วีรยะ [vīrya], บาลี:วิริยะ [viriya])
  • พฤกษา (สันส:วฤกษะ [vṛkṣa])
  • พัสดุ (สันส: [vastu] (วัสตุ); บาลี: [vatthu] (วัตถุ))
เสียง -อระ เปลี่ยนมาจาก -ะระ
  • หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หะระติ))
เสียง ด มักแผลงมาจาก ต
  • หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หะระติ))
  • เทวดา (บาลี:เทวะตา [devatā])
  • วัสดุ และ วัตถุ (สันส: [vastu] (วัสตุ); บาลี: [vatthu] (วัตถุ))
  • กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: [kapilavastu] (กปิลวัสตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวัตถุ))
เสียง บ มักแผลงมาจาก ป
  • กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: [kapilavastu] (กปิลวัสตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวัตถุ))
  • บุพเพ และ บูรพ (บาลี: [pubba] (ปุพพ))

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1.  โหมโรง, รัฐนิยม, จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประวัติศาสตร์ที่ต้องไม่บิดเบือน
  2.  ศูนย์การแปลและล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แปล ; ปรีมา มัลลิกะมาส, นริศรา จักรพงษ์, ไพศาลย์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์ บรรณาธิการ, พจนานุกรมออกซฟอร์ด-ริเวอร์ บุ๊คส์ อังกฤษไทย, River Books, 2549, หน้า 1041
  • กำชัย ทองหล่อ. หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : บำรุงสาส์น, 2533.
  • นันทนา รณเกียรติ. สัทศาสตร์ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548. ISBN 978-974-571-929-3.
  • อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล และ กัลยารัตน์ ฐิติกานต์นารา. 2549.“การเน้นพยางค์กับทำนองเสียงภาษาไทย” (Stress and Intonation in Thai ) วารสารภาษาและภาษาศาสตร์ ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (มกราคม – มิถุนายน 2549) หน้า 59-76
  • สัทวิทยา : การวิเคราะห์ระบบเสียงในภาษา. 2547. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • Gandour, Jack, Tumtavitikul, Apiluck and Satthamnuwong, Nakarin.1999. “Effects of Speaking Rate on the Thai Tones.” Phonetica 56, pp.123-134.
  • Tumtavitikul, Apiluck, 1998. “The Metrical Structure of Thai in a Non-Linear Perspective”. Papers presentd to the Fourth Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society 1994, pp. 53-71. Udom Warotamasikkhadit and Thanyarat Panakul, eds. Temple, Arizona: Program for Southeast Asian Studies, Arizona State University.
  • Apiluck Tumtavitikul. 1997. “The Reflection on the X’ category in Thai”. Mon-Khmer Studies XXVII, pp. 307-316.
  • อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล. 2539. “ข้อคิดเกี่ยวกับหน่วยวากยสัมพันธ์ในภาษาไทย” วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ. 4.57-66.
  • Tumtavitikul, Appi. 1995. “Tonal Movements in Thai”. The Proceedings of the XIIIth International Congress of Phonetic Sciences, Vol. I, pp. 188-121. Stockholm: Royal Institute of Technology and Stockholm University.
  • Tumtavitikul, Apiluck. 1994. “Thai Contour Tones”. Current Issues in Sino-Tibetan Linguistics, pp.869-875. Hajime Kitamura et al, eds, Ozaka: The Organization Committee of the 26th Sino-Tibetan Languages and Linguistics,National Museum of Ethnology.
  • Tumtavitikul, Apiluck. 1993. “FO – Induced VOT Variants in Thai”. Journal of Languages and Linguistics, 12.1.34 – 56.
  • Tumtavitikul, Apiluck. 1993. “Perhaps, the Tones are in the Consonants?” Mon-Khmer Studies XXIII, pp.11-41.
  1.  โหมโรง, รัฐนิยม, จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประวัติศาสตร์ที่ต้องไม่บิดเบือน
  2.  ศูนย์การแปลและล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แปล ; ปรีมา มัลลิกะมาส, นริศรา จักรพงษ์, ไพศาลย์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์ บรรณาธิการ, พจนานุกรมออกซฟอร์ด-ริเวอร์ บุ๊คส์ อังกฤษไทย, River Books, 2549, หน้า 1041

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

Wikibooks
วิกิตำรา มีคู่มือ ตำรา หรือวิธีการเกี่ยวกับ:
ภาษาไทย